การประกันตัวผู้ต้องหา ในชั้นสอบสวนที่โรงพัก

การประกันตัว ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน หรือเป็นการประกันตัวที่โรงพัก เราสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

ก่อนอื่นเราจะมาอธิบายขั้นตอนการดำเนินคดีก่อนจะได้ไม่งง

1. เมื่อผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน มีความประสงค์จะดำเนินคดี กับผู้ต้องหา
2. พนักงานสอบสวนทำการออกหมายเรียก เรียกผู้ต้องหาเข้ามาให้ปากคำ
3. เมื่อผู้ต้องหาเข้ามาให้ปากคำ กับพนักงานสอบสวน กรณีนี้อาจจะต้องมีการประกันตัวด้วย
4. หากออกหมายเรียก 2 ครั้งแล้วไม่มา พนักงานสอบสวนที่ทำการออกหมายจับ
5. ถ้ามีการออกหมายจับแล้ว ต่อมามีการจับตัวผู้ต้องหาได้ กรณีนี้มักจะต้องประกันตัวเสมอ
6. โดยการประกันตัวนี้จะต้องเป็นการขออำนาจศาล เพื่ออนุมัติการประกันตัว แต่เป็นการประกันตัวที่ใช้พนักงานสอบสวนหรือชั้นโรงพัก
7. กรณีคดีที่จะต้องยื่นฟ้อง แล้วพนักงานสอบสวนผลัดฟ้อง ก็จะต้องมีการประกันตัวด้วย

ดังนั้นหากไม่ต้องการหรือลดความเสี่ยงในการที่จะต้องประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวนหรือที่โรงพัก เมื่อมีหมายเรียกก็ให้ไปตามหมายเรียกที่พนักงานเรียกไป ไปให้ปากคำให้ข้อเท็จจริงซึ่งบางครั้งเราอาจจะไม่ได้มีความผิดก็ได้

วงเงินประกันตัวผู้ต้องหา

ศาลตัดสินแล้ว ประกันตัวได้ไหม

#รับประกันตัวผู้ต้องหา

ขั้นตอนต่อไปของการประกันตัวที่โรงพัก

เมื่อผู้ต้องหาไปให้ปากคำแล้ว จากนั้นพนักงานสอบสวนจะทำการส่งสำนวนไปให้สำนักงานอัยการ ทำการตรวจเพื่อเขียนฟ้อง และส่งฟ้องไปยังศาลชั้นต้นในเขตอำนาจรับผิดชอบ ต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้ อาจจะต้องมีการประกันตัวในชั้นศาลอีกครั้งหนึ่งด้วย โดยการประกันตัวในชั้นศาลจะประกันตัวในวันที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น

คดีอาญาที่ผู้เสียหายฟ้องตรงต่อศาล

คดีประเภทนี้ จะไม่ได้ผ่านโรงพักหรือไม่ได้ผ่านพนักงานสอบสวน เนื่องจากผู้เสียหายทำการยื่นคำฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลในเขตอำนาจศาล ดังนั้นกรณีนี้การประกันตัวจะต้องประกันตัวในชั้นศาลเท่านั้น ไม่มี พนักงานสอบสวนหรืออัยการมาเกี่ยวข้อง

  • สอบถามร้อยเวร เจ้าของคดี
  • บางคดีอาจจะไม่ต้องประกันที่โรงพัก
  • ดูด้วยมีหมายจับหรือเปล่า
  • ถ้าไม่ประกันที่โรงพักก็จะประกันที่ศาล
  • บางทีชั้นอัยการอาจไม่ต้องประกัน
  • สอบถามรายละเอียดกับอัยการ
  • อัยการส่งฟ้องศาลวันไหน
  • ประกันในวันที่อัยการยื่นฟ้องต่อศาล
  • วงเงินหลักทรัพย์ประกันกี่บาทให้ถามศาล
Scroll to Top