บริการ รับประกันตัวผู้ต้องหา

ทำไมต้องมี บริษัท ประกันผู้ต้องหา ประกันอิสรภาพ

การรับประกันตัวผู้ต้องหา หรือในการประกันตัวผู้ต้องหา เกิดขึ้นเมื่อท่านถูกแจ้งข้อกล่าวหาโดยผู้เสียหาย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจรับแจ้งความแล้วนั้น แสดงว่ามีมูลความผิดในเบื้องต้น(แม้ว่าความจริงแล้วท่านจะทำความผิดจริงหรือไม่ก็ตามสำหรับในบางคดี ซึ่งมิได้กระทำความผิดให้เห็นโดยซึ่งหน้า) ท่านตกเป็นผู้ต้องหาแล้วมีความผิดตามฐานความผิดประมวลกฎหมายอาญา  สาเหตุเนื่องจากระบบศาลของไทยเรา เป็นระบบกล่าวหา (*ระบบศาลโดยทั่วไปมี 2 ระบบ คือระบบไต่สวน กับ ระบบกล่าวหา*) เมื่อท่านมีความผิดทางคดีความตามกฎหมาย หรือถูกแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมาย ท่านต้องดำเนินการ  หาคน รับจ้างประกันผู้ต้องหา (ถ้าเจ้าหน้าที่เรียกหลักประกันตัวผู้ต้องหา) และปรึกษาเรื่องคดี ยกตัวอย่างข้อหา ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ประกันผู้ต้องหา เช่น

>> กดโทรด่วนที่นี่!!! : 081 189 5861

>> กดสอบถาม ประกันตัว ทาง facebook

กลุ่มความผิดตัวอย่างข้อหา
1. ความผิดเกี่ยวชีวิตร่างกายตัวอย่างข้อหาที่ต้อง รับจ้างประกันตัว ได้แก่
– ความผิดฐานฆ่าคนอื่น (มาตรา 288 , 289 ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตน หรือเพื่อปกปิดความผิดของตน , ฆ่าผู้อื่น เพื่อตระเตรียมการ กระทำความผิดอย่างอื่นต่อไป , ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ , ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน , เหตุฉกรรจ์ฆ่าผู้อื่น เช่น ฆ่าบุพการี , ฆ่าเจ้าพนักงานขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ )
– ความผิดฐานกระทำโดยประมาท มีผู้ถึงแก่ความตาย(มาตรา 291)
2. ความผิดเกี่ยวกับก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตัวอย่างข้อหาที่ต้องประกันได้แก่
– ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น (มาตรา217 แม้เพียงขั้นเตรียมการมีความผิด)
– ความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท (มาตรา225 ผู้ใดทำให้เกิดเพลิงไหม้ โดยประมาท เป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย)
3. ความผิดเกี่ยวกับเพศตัวอย่างข้อหาได้แก่
– ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ( มาตรา276 ข่มขืนกระทำชำเรา , 277 ชำเราเด็กอายุ 13-15 ปี ) – ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ( มาตรา 317 พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี , 318 พรากผู้เยาว์โดยไม่เต็มใจ , 319 พรากผู้เยาว์โดยเต็มใจ )
– ความผิดฐานกระทำอนาจาร ( 279 อนาจารเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี , มาตรา278 อนาจาร ) ,
4. ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมตัวอย่างข้อหาที่ ประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่
– ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย (มาตรา172)
– ความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม (มาตรา167)
5. ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตัวอย่างข้อหาที่ รับประกันตัว ได้แก่
– ความผิดฐานซ่องโจร (มาตรา 210 สมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป)
– ความผิดฐานมั่วสุม 10 คนขึ้นไปก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง (มาตรา215)
6. ความผิดเกี่ยวกับเอกสารตัวอย่างข้อหาที่ บริษัท ทำการ ประกันได้แก่
– ความผิดฐานปลอมเอกสาร (มาตรา264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือเพียงส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ)
– ความผิดฐานทำลายเอกสารพินัยกรรมของผู้อื่น (มาตรา188 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพินัยกรรม หรือเอกสารใดของผู้อื่น) เป็นต้น
ความผิดพ.ร.บ.
1. ความผิดเกี่ยวกับ พรบ.อื่น ๆ อีก หลาย พรบ.1. พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์
2. พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี
3.พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (ยาบ้า) – ข้อนี้มีบทลงโทษค่อนข้างรุนแรงและใช้หลักทรัพย์มูลค่าสูงในการประกัน
4. พ.ร.บ.อาวุธปืน
5. พ.ร.บ.ป้องกันการใช้สารระเหย
6. พ.ร.บ.ยาสูบ
7. พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
8. พ.ร.บ.ยา
9. พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
10. พ.ร.บ.การพนัน
11. พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม
12. พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ
13. พ.ร.บ.จราจรทางบก

ศาลตัดสินแล้ว ประกันตัวได้หรือไม่

การประกันตัวผู้ต้องหา ที่โรงพัก

วงเงินประกันตัวผู้ต้องหา

* ** นักโทษในคุก 80เปอร์เซ็นต์ เป็นการประกันตัวผู้ต้องหา ให้กับนักโทษที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด ท่านคงจะเห็นว่า สถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทย นั้นมีความรุนแรงมาก ถึงมากที่สุด แพร่หลายไปทั่ว จนสุดจะคาดเดาหรือควบคุมสถานการณ์ ประกันยากด้วย ไม่ค่อยรับประกัน ว่าศาลจะให้ประกันหรือปล่อยตัวชั่วคราวไหม

ต่างๆหล่านี้ เมื่อผู้ต้องหาถูกแจ้งข้อหาจากนั้นก็ต้องทำการ รับจ้างประกันตัว(หรือเรียกว่าการขอปล่อยตัวชั่วคราว) โดยกำหนดวงเงินที่ต้องใช้ประกันผู้ต้องหา ในแต่ละคดีแตกต่างกันออกไป เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น(ม.288) กำหนดราคาประกัน 400,000 บาท , แต่ถ้าเป็นในขั้นพยายามกระทำความผิด (ม.288 ประกอบ ม.80 กระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลสำเร็จ) ราคาหลักประกัน ประมาณ 200,000 บาท เป็นต้น บางครั้งอาจถูกตั้งข้อหาหลายข้อหาร่วมกันก็ได้ หากว่ามีฐานความผิดระบุไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา แล้วแต่ความผิด นั่นจะต้องใช้หลักประกันมูลค่ามากขึ้น ในการประกันผู้ต้องหา และมีความยุ่งยากซับซ้อนในการประกันมากขึ้น ในการทำงานประกัน สำหรับท่านที่ต้องการทราบว่าใช้หลักทรัพย์เท่าไหร่ ให้โทรสอบถามศาล ที่รับคดีตาม เบอร์โทรศาล

ต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่กำหนดราคาหลักประกัน สมมุติว่า 700,000 บาท แต่เมื่อทางผู้ต้องหานั้น มีเงินสดหรือหลักประกันมูลค่าไม่เพียงพอ จำต้องเกิดการ ประกันตัวผู้ต้องหา โดยสามารถติดต่อได้ที่นายประกัน ซึ่งมีอาชีพทางด้านประกันโดยตรง

เรา รับจ้างประกันตัวผู้ต้องหา ได้ในตอนไหน

การประกันตัวนั้น มีการดำเนินการได้สองช่วงคือ
1. การประกันในชั้นพนักงานสอบสวน หรือการประกันในชั้นโรงพัก
2. การประกันในชั้นศาล (ศาลยุติธรรมของไทยแบ่งเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา)

โดยที่จะดำเนินการประกันในชั้นใดนั้น ต้องแล้วแต่ระเบียบราชการของศาลกำหนดไว้ เช่น คดียาเสพติด ต้องประกันในชั้นศาลเท่านั้น ไม่สามารถดำเนินการในชั้นพนักงานสอบสวนได้เลย แต่ในบางคดี เช่น คดีเช็ค สามารถประกันได้ ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน และชั้นศาล ทั้งนี้ ต้องดูว่าการดำเนินการประกันอย่างไหนจะเหมาะสมกว่ากัน
การประกันในชั้นสอบสวนนั้น จะสิ้นสุดลงที่ชั้นอัยการ เมื่อสำนักงานอัยการทำการส่งคดีท่านฟ้องต่อศาล ท่านจะต้องทำการประกันต่อไปในชั้นศาล

ประกัน ชั้นพนักงานสอบสวน

เป็นการดำเนินการ ตั้งแต่ท่านถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมมา จนกระทั่ง ถึงขั้นตอนที่ตำรวจส่งสำนวนไปยังอัยการ เพื่อเตรียมส่งฟ้องศาล ต่อไป

ประกันผู้ต้องหาในชั้นศาล

เป็นการดำเนินการประกันผู้ต้องหา ในขั้นตอนเมื่อศาลรับประทับฟ้อง จากอัยการ(ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำสำนวนมาส่งที่อัยการก่อน) เพื่อให้อัยการพิจาณาว่าจะส่งฟ้อง หรือไม่ส่งฟ้องศาลต่อไป หรือหากโจทก์ยื่นฟ้องโดยตรงต่อศาล ท่านต้องมีการประกันในขั้นตอนนี้เช่นเดียวกัน โดยสำหรับคดีอาญา เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องเสร็จแล้ว และคดีมีมูล ศาลประทับฟ้อง ขั้นตอนนี้อาจต้องมีการดำเนินการประกัน

การประกันในชั้นศาล ยังแบ่งออกเป็น ประกันศาลชั้นต้น ประกันศาลอุทธรณ์ และประกันศาลฏีกา ทุกขั้นตอน ท่านสามารถทำการประกันได้ ในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของศาล เช่น การนัดสืบพยานโจทก์ การนัดสืบพยานจำเลย การนัดพร้อม จนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาตัดสินในคดีความผิดนั้น ๆ เมื่อศาลตัดสินคดีให้กับผู้ต้องหาแล้ว การประกันตัวเป็นอันสิ้นสุดลงตามสัญญาประกัน ถ้าท่านไม่พอใจในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ท่านต้องประกันชั้นอุทธรณ์ และสู้คดีในศาลขั้นถัดไปคือศาลอุทธรณ์

ทั้งนี้ขั้นตอนการดำเนินการของศาลจะเร็วหรือช้า ขึ้นกับว่าผู้ต้องหารับสารภาพ หรือ ปฏิเสธ ถ้ารับสารภาพ ศาลท่านจะพิพากษาติดสินคดีเลย แต่หากปฏิเสธ จะต้องมีกระบวนการสืบพยานโจทก์และจำเลยอีก ดังที่กล่าวมา อันมีผลให้ระยะเวลาที่ใช้ประกันเนิ่นนานออกไป บางครั้งหลักฐานที่นำมาต่อสู้คดีด้านต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ นั่นก็คือเวลาที่ต้องเนิ่นนานออกไป

สำหรับตัวผู้ต้องหาเอง จะรับหรือปฏิเสธในข้อหานั้น สมควรปรึกษาทนายความ ก่อน เพราะแต่ละคดีรูปการไม่เหมือนกัน บางครั้งการสู้ไม่รู้ทิศทาง สู้แล้วท่านแพ้คดี อาจสร้างความเสียหาย ให้กับผู้ต้องหา มากกว่าการยอมรับความผิด เรื่องนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับทางด้านทนายความ ขอให้ไปปรึกษากับผู้ซึ่งมีความรู้จริง ทางด้านนี้จะดีกว่า ไม่ใช่หน้าที่ของนายประกัน

เอกสารและหลักทรัพย์ที่ใช้ ประกันตัว

เอกสารที่ใช้ประกันตัว

เอกสารของผู้ต้องหาที่ต้องมีคือ บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านเพราะต้องนำไปตรวจสอบหมายเลขคดี ณ ที่ศาลนั้นๆ (บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ทุกคนต้องมี ไม่ว่าจะติดต่อกับราชการอะไร หากท่านมีการเปลี่ยนชื่อ ก็ควรนำใบเปลี่ยนชื่อนั้นไปด้วย หากว่าเป็นคู่สมรส ทะเบียนการจดสมรส ก็เป็นสิ่งจำเป็นต้องนำไปเช่นกัน อนึ่งการกระทำการนายประกัน ของสามีหรือภรรยา ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ จากคู่สามีหรือภรรยานั้นด้วย)

หลักทรัพย์ที่ใช้ประกันผู้ต้องหา ดังต่อไปนี้

1. หลักทรัพย์ ที่สามารถใช้ได้คือ

– เงินสด ถือได้ว่าเป็นหลักประกัน ที่ซื้อง่ายขายคล่อง ใครๆก็ต้องการ
– ที่ดินที่มีโฉนดหรือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์(นส.3 หรือ นส.3ก) ซึ่งมีหนังสือรับรองราคาประเมิน ณ ปัจจุบัน ซึ่งออกโดยสำนักงานที่ดิน โดยที่ดินนั้นต้องไม่ติดภาระจำนอง หรือข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น อันส่งผลกระทบต่อการบังคับคดี อนึ่ง หากจะนำสิ่งปลูกสร้าง เช่น โรงเรือน อาคาร บนที่ดินมาประกันด้วย จักต้องแสดงสำเนาทะเบียนบ้าน และหนังสือประเมินราคาสิ่งปลูกสร้าง ที่น่าเชื่อถือ ประกอบด้วย
– ห้องชุด มีโฉนดที่ดิน และหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดและเช่นกัน จะต้องไม่ติดภาระผูกพันทางการเงิน อันส่งผลกระทบต่การบังคับคดีได้ (เช่นติดจำนอง จำนำ ธนาคาร ไม่สามารถนำมาประกันผู้ต้องหาได้)
– พันธบัตรรัฐบาล
– สลากออมสิน
– สมุดเงินฝากธนาคาร ประเภทฝากประจำ
– ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
– ตั๋วแลกเงิน หรือเช็ค ที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง ซึ่งสามารถเรียกเก็บเงินได้ ในวันที่ทำสัญญาประกัน
– หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทน ในกรณีผิดสัญญาประกัน

ในกรณีที่ผู้ยื่นของประกัน จดทะเบียนสมรส มีครอบครัวแล้ว จะต้องนำหนังสือแสดงความยินยอมจากสามีหรือภรรยา (แล้วแต่กรณี) ไปด้วย

2. กรณีใช้บุคคลประกัน

เป็นการใช้ตำแหน่ง ประกันตัวนั่นเอง

– เป็นผู้มีตำแหน่งมีหน้าที่การงานหรือมีรายได้ที่แน่นอน เช่น ข้าราชการ , ข้าราชการบำนาญ , สมาชิกรัฐสภา , ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น , สมาชิกสภาท้องถิ่น , พนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น สำหรับการใช้ตำแน่งประกันนั้น รายละเอียดโทรถามศาลอีกที ไปละที่อาจจะมีความจุกจิก ยุ่งยากในเรื่องการใช้ตำแหน่งหน้าที่ ประกันตัว เราไม่ค่อยแนะนำการประกันแบบนี้
– เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับตัวผู้ต้องหาหรือจะเลย เช่น เป็นคุณพ่อและมีตำแหน่งหน้าที่ราชการ (แต่ข้าราชการบำนาญ ศาลไม่น่าจะรับเพราะว่า หากมีการต้องปรับเงินค่าเสียหายจากนายประกัน ในกรณีที่ผู้ต้องหาหลบหนีหรือไม่มาศาลนั้น จะทำไม่ได้ เนื่องจากเงินบำนาญเป็นเบี้ยเลี้ยงชีพ เพื่อดูแลผู้สูงอายุในขั้นสุดท้าย หลังจากทำงานรับราชการมาทั้งชีวิต)
– อัตราหลักประกันผู้ต้องหา สำหรับใช้ตำแหน่งบุคคล ให้ทำสัญญาประกันได้ ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่า ของเงินเดือนสุทธิ (เงินเดือนสุทธิก็คือเงินเดือนที่รับ หักค่าใช้จ่ายผ่อนโน่นนี่นั่น แล้วเหลือเท่าไหร่ นั่นคือเงินเดือนสุทธิ ที่นำมาคุณ 10 ได้เป็นมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ประกัน ตามฐานความผิดต่าง ๆ ว่าใช้หลักประกันเท่าไหร่ อย่างไรกันบ้าง เป็นต้น)

การประกันตัวหากได้ผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายมาดำเนินการจะเป็นผลดีกับท่านมากกว่า
บางครั้งเมื่อเป็นคดีความในชั้นศาลแล้ว ศาลนัดเช่นนัดฟังผลการชำระหนี้หรืออ่านคำพิพากษา เมื่อจำเลยหลงลืมวันนัดก็จะทำให้ศาลจำเป็นต้องออกหมายจับ เพื่อนำจำเลยมาฟังคำพิพากษา เมื่อจับตัวจำเลยได้จึงต้องมีการประกันตัวจำเลย

อนึ่งการประกันตัวยังสามารถประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ได้ด้วย ไปหาผู้รับงานได้ยากยิ่งนัก

ท่านใดต้องการ รับประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย ประกันอิสรภาพ ติดต่อประกันกันเข้ามาได้ อย่ารอช้า  081-189-5861

facebook ของเรา

Scroll to Top