ศาลตัดสินแล้ว เราสามารถประกันตัวได้ไหม

เมื่อศาลตัดสินแล้วเรายังสามารถประกันตัวได้อีกหรือไม่ วันนี้จะมาหาคำตอบกัน

เมื่อจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ไม่ว่าจะโดยพนักงานอัยการโจทก์ หรือโดยผู้เสียหายฟ้องตรงต่อศาล เมื่อคดีดำเนินการต่อไปจนถึงศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หากศาลมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย ปกติแล้วในวันที่มีคำพิพากษาคดียังไม่ถึงที่สุด จะต้องใช้เวลาอีก 30 วันในการอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะเป็นของฝั่งโจทก์หรือจำเลย หากพ้น 30 วันนี้และโจทก์หรือจำเลยคือคู่ความไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาเข้ามา คดีเป็นอันถึงที่สุด ในช่วงเวลานี้สามารถออกใบรับรองคดีถึงที่สุดได้ และศาลจะออกหมายขังในคดีถึงที่สุด

ในช่วงหลังจากศาลมีคำพิพากษาและภายใน 30 วันระหว่างระยะเวลาที่อุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยสามารถยื่นขอประกันตัวได้ เป็นการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ โดยให้ตรวจสอบมูลค่าหลักทรัพย์ที่จะต้องใช้กับศาล และต้องดูด้วยว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยมากี่เดือนกี่ปี เพราะจะต้องนำมาคำนวณหลักทรัพย์ที่ใช้ประกันตัวในชั้นอุทธรณ์

แต่หากคดีถึงที่สุดแล้ว ก็คือไม่มีคู่ความใดยื่นอุทธรณ์เข้ามา หรือไม่มีคู่ความใดขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ คดีเป็นอันถึงที่สุด จำเลยจะต้องรับโทษตามที่ศาลพิพากษานั้น ไม่สามารถประกันตัวได้อีกต่อไป

การประกันตัวผู้ต้องหา ที่โรงพัก

วงเงินประกันตัวผู้ต้องหา

#รับจ้างประกันตัวผู้ต้องหา

คำแนะนำ หลังศาลตัดสินแล้ว

หากจะประกันตัว ก็ให้รีบดำเนินการ หรือจะทำการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาและเรายังไม่พร้อมก็ทำการขยายและระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือฎีกาออกไปก่อน ขออย่างเดียวอย่าให้คดีถึงที่สุด จากนั้นเราก็ขอประกันตัวต่อไปได้

หากศาลตัดสิน จำคุกจำเลย

เมื่อศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกจำเลย และจำเลยไม่มีเงินประกันตัวในวันนั้น ศาลจะทำการออกหมายขังจำเลยระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยต้องอยู่ที่เรือนจำ ช่วงนี้คนข้างนอกก็ทำการเตรียมตัว เพื่อประกันตัวต่อไปได้

ประกันตัวในวันที่ศาลชั้นต้นตัดสินเลยดีกว่า

หากไม่อยากให้จำเลยต้องเข้าไปนอนในเรือนจำ ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และจำเลยไปศาลเมื่อศาลอ่านคำพิพากษาจำคุกจำเลย จำเลยทำการยื่นประกันตัวในชั้นงอุทธรณ์ในวันนั้นเลย จะเป็นผลดีต่อจำเลยมากกว่า

Scroll to Top